ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนที่สำคัญ เช่น การใช้ความเร็ว เมาแล้วขับ การสวมหมวกนิรภัย ฯลฯ
คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่ายังขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด และขาดการรับรู้ต่ออัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้อง และ 1 ใน 3 ยังมีทัศนคติที่ผิดว่าการขับรถเร็วไม่น่าจะอันตรายหากเพิ่มความระมัดระวัง
ในปี 2555 อุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมเมาแล้วขับ คิดเป็นร้อยละ 6 ของคดีอุบัติเหตุจราจรจากระบบข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลดลงจากปี 2553 และ 2554 ที่มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 8 โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเดือนที่มีช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์
แม้ว่ากฎหมายจะระบุให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย แต่ในปัจจุบันยังคงพบเห็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ละเลยและฝ่าฝืนกฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจทั่วประเทศล่าสุดในปี 2554 พบว่ามีผู้ขับขี่รถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 60 ในขณะที่พบว่าผู้โดยสารตอนหน้าคาดเข็มขัดเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น
รัฐบาลดำเนินนโยบายรณรงค์ให้รถจักรยานยนต์เปิดไฟหน้าเวลากลางวัน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 โดยไม่มีกฎหมายบังคับ ผลการสำรวจล่าสุดในปี 2555 พบว่า
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมากให้ความร่วมมือในการเปิดไฟหน้าเวลากลางวัน เมื่อเทียบกับการสวมหมวกนิรภัย
การขับรถฝ่าไฟแดงถือเป็นความผิดจราจรที่ร้ายแรง เพราะเป็นการกระทำที่อันตราย แต่ก็มีคนขับรถจำนวนไม่น้อยที่ชอบปฏิบัติเมื่อมีโอกาส ไม่เว้นแม้แต่ในทางแยกที่มีกล้องติดอยู่