
รูปที่ 1 การเปรียบเทียบอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยในระดับนานาชาติ
ที่มา: องค์การอนามัยโลก (2013)
ในปี พ.ศ. 2553 และ 2554 ผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทยมีการคาดเข็มขัดนิรภัยในกลุ่มผู้ขับขี่ประมาณร้อยละ 60 ในขณะที่พบว่าผู้โดยสารคาดเข็มขัดเพียงร้อยละ 40 [2, 3]
- ในประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายบังคับให้รถยนต์ดังต่อไปนี้จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล(รถเก๋ง) รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดและรถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน7 คน(รถแท็กซี่) ที่จดทะเบียนตั้งแต่1 มกราคม พ.ศ. 2531 แลรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน7 ที่นั่ง(รถตู้) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รถปิคอัพ) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจํานวนที่นั่งไม่เกิน15 ที่นั่ง และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีน้ําหนักรถไม่เกิน1,600 กิโลกรัม ที่จดทะเบียนตั้งแต่1 มกราคม พ.ศ. 2537
- ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับขี่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก โดยปรับรายละไม่เกิน 500 บาท
- สาเหตุส่วนใหญ่ของการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ ทั้ง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้าใน 3 อันดับแรก คือ เดินทางระยะใกล้ ร้อยละ 51 ไม่ได้ขับขี่ออกถนนใหญ่ ร้อยละ 29 และเร่งรีบหรือต้องขึ้น-ลงรถบ่อย ร้อยละ 28
- โดยเฉลี่ยผู้ขับขี่ ร้อยละ43 มีทัศนคติว่าไม่จำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัย หากเดินทางใกล้ๆ หรือขับรถในซอย
เอกสารอ้างอิง
1. Boontob, N., Tanaboriboon, Y., Kanitpong, K., and Suriyawongpaisal, P. (2007) Impact of SeatbeltUse to Road Accident in Thailand, Transportation Research Record 2038, Journal of Transportation Research Board, pp 84-92.
2. อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553, มูลนิธิไทยโรดส์ และเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน, 2555
3. อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554, มูลนิธิไทยโรดส์ และเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน, 2556
4. Global Status Report on Road Safety: Supporting a Decade of Action, World Health Organization, 2013
5. ข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บของโรงพยาบาลเครือข่ายระดับชาติ, สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข